อภิธานศัพท์
720p – อัตราส่วนการแสดงผล 16:9 ที่มีความละเอียด 1280 x 720 พิกเซลในโหมด Progressive
Non-Interlace (สแกนภาพต่อเนื่องไม่สลับฟันปลา) ให้จำนวนพิกเซลรวม 921,600 พิกเซล
1080p –อัตราส่วนการแสดงผล 16:9 ที่มีความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซลในโหมด Progressive
Non-Interlace (สแกนภาพต่อเนื่องไม่สลับฟันปลา) ให้จำนวนพิกเซลรวม 2,073,000
3LCD – คำย่อของ 3 Chip Liquid Crystal Display (จอภาพคริสตัลเหลวแบบ 3 ชิป)
แม่สีแบบเติมเต็ม –แสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน
เมื่อนำแม่สีแบบเติมเต็มทั้งสามสีมารวมกันที่ความเข้มแสง 100% จะทำให้เกิดแสงสีขาวขึ้น
ปริภูมิสี RGB แบบเติมเต็ม –ปริภูมิสีที่ใช้ในการวัดระดับสี ประกอบด้วยแม่สีสามสี
(โดยทั่วไปได้แก่สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน) เป็นปริภูมิที่สามารถหาปริมาณสีแบบ XYZ ของ CIE
ได้จากปริมาณสีในปริภูมิ RGB โดยแสดงในรูปแบบการถ่วงน้ำหนักของแม่สีในระบบ แบบ XYZ ของ CIE แต่ละสีที่ใช้ผสม
สีดำ –สภาวะที่ไม่มีการสะท้อนแสงโดยสมบูรณ์
เป็นสีที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุดูดซับแสงทุกความยาวคลื่นจากแหล่งกำเนิดแสง เมื่อรวมสารสีฟ้า สีม่วง
และสีเหลืองเข้าด้วยกัน 100% สีที่เกิดขึ้นตามทฤษฎีจะเป็นสีดำ
ซึ่งในการใช้งานจริงจะปรากฏเป็นสีเทาเข้มหรือน้ำตาล
สีน้ำเงิน –หนึ่งในแม่สีแบบเติมเต็มทั้งสามสี
พิกัดสี – พิกัดที่ระบุตำแหน่งของสีในแผนภูมิสี
พิกัดของสีสีหนึ่งนั้นพิจารณาจากอัตราส่วนแม่สีทั้งสามที่เป็นส่วนประกอบ
เทียบกับผลรวมปริมาณแม่สีทั้งหมด
แผนภูมิสี – แผนภูมิที่แสดงระนาบหนึ่งหน่วย (ระนาบจะนิยามโดยสมการ X+Y+Z=1)
ในปริภูมิแม่สีทั้งสามสี ตำแหน่งบนแผนภูมิสีของสีซึ่งมีค่าปริมาณแม่สีค่าหนึ่งๆ นั้น
จะแสดงอยู่ในรูปของทิศทางทิศทางจากจุดกำเนิดของระนาบ โดยไม่คำนึงถึงระยะห่าง
CIE – Commission Internationale de l'Eclairage
หน่วยงานสากลที่เป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับแสงและความสว่าง
มาตรเทียบสี – อุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาณในเชิงสี
เช่นค่าปริมาณของแม่สีทั้งสามชนิดของสีที่นำมาวัด
ความสว่างของแสงสี – หน่วยการวัดกำลังการแสดงแสงสีจากโปรเจกเตอร์ ยิ่งความสว่างของแสงสีมาก
สีที่แสดงผลออกมาจะยิ่งสดใสและสมจริงมากขึ้น เรียกอีกชื่อว่า กำลังการแสดงแสงสี ก็ได้
วงจรตัวกรองสี – อุปกรณ์เชิงกลที่ประกอบด้วยตัวกรองสี 3 ตัวขึ้นไป ใช้ในระบบการฉายภาพแบบ 1
ชิป
กระจกไดโครอิก – ทัศนอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบการฉายภาพ 3 เส้นทาง ใช้เพื่อแบ่งแสงออกเป็นลำแสงหลายเส้น
กระจกไดโครอิกแต่ละตัวจะได้รับการปรับแต่งให้สะท้อนแสงที่ช่วงความยาวคลื่นหนึ่ง
และอนุญาตให้ความยาวคลื่นอีกค่าหนึ่งผ่านได้ เช่นกระจกไดโครอิกอาจสะท้อนแสงสีแดง
แต่อนุญาตให้แสงสีน้ำเงินและสีเขียวผ่านไปได้
ขอบเขตสี – ช่วงสีต่างๆ ที่สามารถตีความได้โดยใช้แบบจำลองสี
หรือสร้างขึ้นโดยอุปกรณ์ชนิดหนึ่งได้
กำลังการแสดงผลแสงสี – มาตรฐาน IDMS 15.4 ที่ใช้วัดกำลังการแสดงแสงสีจากโปรเจกเตอร์
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากำลังการแสดงแสงสีก็ได้
ปริภูมิสี – รูปทรงเรขาคณิตที่ใช้นำเสนอสีต่างๆ ในปริภูมิ โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบสามมิติ
รูปทรงนี้ใช้อธิบายตำแหน่งของสีเป็นชุดตัวเลของค์ประกอบของสีสามหรือสี่ค่า (เช่นแบบจำลองสี RGB และ CMYK)
ตัวอย่างปริภูมิสีเช่น sRGB, Adobe RGB 1998 และ Pro Photo RGB
วงจรสี – เครื่องมือในหลักทฤษฎีสีซึ่งใช้งานโดยผู้ประกอบวิชาชีพออกแบบ
สีตรงข้าม – สีสองสีที่สามารถผสมแบบเติมเต็มเข้าด้วยกันแล้วทำให้เกิดสีอรงค์ (ขาวเทาดำ)
ความเปรียบต่าง – ระดับความแตกต่างระหว่างบริเวณที่สว่างและบริเวณที่มืดในภาพ
โคน – เซลล์รับแสงชนิดหนึ่งในเรตินาของดวงตา มีหน้าที่ในการรับรู้สี
สีฟ้า – หนึ่งในแม่สีของหมึกที่ใช้ในกระบวนการพิมพ์
CMY – แม่สีแบบลดทอน ประกอบด้วยสีฟ้า สีม่วง และสีเหลือง
CMYK – แบบจำลองสีที่ใช้ในงานพิมพ์ออฟเซ็ต 4 สี
DLP – ย่อมาจาก Digital Light Processing (เทคโนโลยีการฉายภาพโดยใช้กระจกขนาดเล็ก)
การระบุพิกัดขอบเขตสี – การแปลงพิกัดของปริภูมิสีสองปริภูมิขึ้นไปให้อยู่ในปริภูมิสีเดียวกัน
สีเขียว – หนึ่งในแม่สีแบบเติมเต็มทั้งสามสี
ICDM – ย่อมาจาก International Committee for Display Metrology มีเว็บไซต์ที่
IDMS – ย่อมาจาก Information Display Measurements Standard
(มาตรฐานการวัดประสิทธิภาพการแสดงผลข้อมูล) หรืออาจเรียกว่า International Display Measurement Standard
(มาตรฐานการวัดประสิทธิภาพการแสดงผลสากล) ดาวน์โหลดได้ที่:
http://icdm-sid.org/
IDMS 15.4 – มาตรฐานสำหรับกำลังการแสดงแสงสี
เนื้อสี – สีพื้นฐานของวัตถุ เช่น "สีแดง" "สีเขียว" และอื่นๆ
กำหนดโดยตำแหน่งเชิงมุมของปริภูมิสีทรงกระบอก หรือตำแหน่งบนวงจรสี
ICC – International Color Consortium
หน่วยงานอุตสาหกรรมที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการระบุข้อกำหนดโปรไฟล์ ICC และสถาปัตยกรรมการจัดการสี
อิชิฮาระ – การทดสอบตาบอดสี
K – หมึกดำที่ใช้ในกระบวนการพิมพ์ภาพปริมาณมาก ใช้แทนสีดำในตัวย่อ CMYK เพื่อไม่ให้สับสนกับตัว "B"
ซึ่งแทนสีน้ำเงินใน RGB
เคลวิน (K) – หน่วยการวัดอุณหภูมิสี
ลูเมน – การวัด "ปริมาณ" แสงที่มองเห็นได้ทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิด
ลักซ์ – หนึ่งลูเมนต่อตารางเมตร
สีม่วง – หนึ่งในแม่สีของหมึกที่ใช้ในกระบวนการพิมพ์
ระบบสีของมุนเซล – ระบบที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปในการอธิบายลักษณะสีของภาพตัวอย่าง
ระบบมุนเซลใช้การจับคู่กับกลุ่มสีตัวอย่างและการเปรียบเทียบระหว่างสีเหล่านั้นเพื่อบ่งชี้ลักษณะของสีตามตัวอย่างสีทดสอบที่กำหนดให้
พิกเซล – "หน่วยการแสดงภาพ" ขนาดเล็กที่ประกอบด้วยข้อมูลสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน
เพื่อใช้สร้างภาพสี
RGB – แม่สีแบบเติมเต็มทั้งสามสีได้แก่สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน
นอกจากนี้ยังเป็นแบบจำลองสีแบบหนึ่งอีกด้วย
สีแดง – หนึ่งในแม่สีแบบเติมเต็มทั้งสามสี
ความละเอียด: – การวัดความละเอียดในการแสดงภาพโดยระบุเป็นจำนวนของพิกเซล
sRGB – ปริภูมิสีชนิดหนึ่ง เดิมออกแบบขึ้นเพื่อใช้สำหรับการแสดงผลสีในเว็บ
แม่สีแบบลดทอน – สีฟ้า สีม่วง และสีเหลือง เมื่อนำแม่สีแบบลดทอนทั้งสามสีมารวมกัน 100% บนกระดาษขาว
จะได้สีดำ
ความอิ่มสี โครมา และความสดของสี – ความอิ่มสี ความสดของสี
และโครมาเป็นแนวคิดในการมองเห็นความเข้มของสีหนึ่งๆ แนวคิดเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกัน
แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด ความสดของสีหมายถึงระดับความแตกต่างระหว่างสีนั้นกับสีเทา
โครมาหมายถึงความสดของสีเมื่อเทียบกับความสว่างของสีอื่นที่ปรากฏเป็นสีขาวภายใต้สภาวะการมองเห็นสภาวะเดียวกัน
ความอิ่มสีคือความสดของสีเมื่อเทียบกับความสว่างของตัวสีนั้นเอง
SID – ย่อมาจาก Society of information Display (สมาคมควบคุมมาตรฐานการแสดงผลข้อมูล)
http://www.sid.org/
สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ – อุปกรณ์ที่ใช้วัดความเข้มของแสงที่ส่งออกมา
ค่าที่วัดได้จะอยู่ในรูปแบบฟังก์ชันของความยาวคลื่นหรือสี
สเปกโตรเรดิโอมิเตอร์ – อุปกรณ์ที่ใช้วัดกำลังการกระจายสเปกตรัมของแหล่งกำเนิดแสง
SVGA – Super Video Graphics Array จำนวนพิกเซลที่โปรเจกเตอร์สามารถแสดงได้ในอัตราส่วนการแสดงผล
4:3 โดยประกอบด้วยแนวนอน 800 พิกเซลและแนวตั้ง 600 พิกเซล รวมเป็น 786,000 พิกเซล
SXGA และ SXGA+ – Super XGA ความละเอียดหน้าจอมาตรฐาน 1280x1024 พิกเซล SXGA
เป็นความละเอียดที่พบได้ในหน้าจอแสดงผลทั่วไป แต่จะให้อัตราส่วนการแสดงผลที่ 1.25:1
ซึ่งต่างจากอัตราส่วนการแสดงผลทั่วไป 1.33:1 (4:3) ส่วน SXGA+ มีความละเอียด 1400x1050
ซึ่งให้อัตราส่วนการแสดงผลที่ 1.33:1 โดยมีจำนวนพิกเซลทั้งหมด 1,470,000 พิกเซล
การวัดสีโดยใช้ปริมาณแม่สีสามสี – ชุดของเทคนิคที่ใช้ทำนายสีที่ต้องการโดยเทียบสีหนึ่งๆ
กับปริมาณแม่สีทั้งสามสีที่จำเป็นในการสร้างสีที่ตรงกับสีนั้น
จำนวนแม่สีสามสีที่ต้องการนั้นคือค่าปริมาณแม่สีสามสีของสีนั้นภายในชุดแม่สีที่กำหนด
ค่าปริมาณแม่สีสามสี – ปริมาณของแม่สีแสงทั้งสามสี ซึ่งเมื่อนำมาผสมแบบเพิ่มสีแล้ว
จะให้สีของแสงตรงกับที่ผู้สังเกตต้องการรับชม
UXGA – Ultra Extended Graphics Array เป็นความละเอียดสำหรับอัตราส่วนการแสดงผล 4:3
โดยประกอบด้วยแนวนอน 1600 พิกเซลและแนวตั้ง 1200 พิกเซล (1600 x 1200) รวมเป็น 1,920,000 พิกเซล
WUXGA – Wide Ultra XGA เป็นความละเอียดสำหรับจอไวด์สกรีน 1920x1200 หรือ 1920x1080
พิกเซลในอัตราส่วนการแสดงผล 16:10
WXGA – Wide XGA เป็นความละเอียดสำหรับจอไวด์สกรีน 1280x800 พิกเซลในอัตราส่วนการแสดงผล 16:10
มีจำนวนพิกเซลรวม 1,024,000 พิกเซล
XGA – ความละเอียดในการแสดงผลระดับ Extended Graphics
เป็นจำนวนพิกเซลที่โปรเจกเตอร์สามารถแสดงผลได้ในอัตราส่วนการแสดงผลมาตรฐาน 4:3 โดยมีจำนวนพิกเซลในแนวนอน 1024
พิกเซล และแนวตั้ง 768 พิกเซล รวมเป็น 786,000 พิกเซล
สีเหลือง – หนึ่งในแม่สีของหมึกที่ใช้ในกระบวนการพิมพ์
ความสว่างของแสงขาว – การวัดกำลังการแสดงแสงขาวของโปรเจกเตอร์โดยไม่คำนึงถึงแสงสี